รังสีรักษาหรือการฉายแสง (Radiation Therapy)  แนวคิดปัจจุบันเชื่อว่ามะเร็งไม่เป็นโรคเฉพาะที่  การผ่าตัดที่ขยายไปตัดต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะอื่นๆได้แก่ กล้ามเนื้อของผนังทรวงอกนั้นถึงอย่างไรก็ไม่สามารถที่จะตัดออกได้หมด   การฉายแสงเพื่อเป็นการรักษาน่าจะให้ผลดีกว่า อีกทั้ีงสามารถลดผลแทรกซ้อน รวมถึงคุณภาพชีวิตและความเป็นหญิงของผู้ป่วยได้ด้วย เพราะฉะนั้นบทบาทของการทำลายเซลมะเร็งที่อยู่ใกล้เคียงกับเต้านม จึงเป็นหน้าที่ของรังสีรักษา และมักทำหลังจากการผ่าตัด  รังสีรักษาจะแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่

1. รังสีรักษาแบบภายนอก  ส่วนใหญ่ของรังสีรักษาจะเป็นการฉายแสงแบบภายนอก

2. รังสีรักษาแบบภายใน    โดยการสอดเครื่องมือที่ให้รังสีเพื่อการรักษาที่ตำแหน่งของการผ่าตัด เมื่อฉายรังสีตามเวลาที่กำหนดแล้วก็จะเอาออก  โดยวิธีการแบบนี้เรียกว่า Internal Radiotherapy หรือ Brachytherapy ซึ่งวิธีการดังกล่าวทำในโรงพยาบาลที่เป็น Center ในทำการทำรังสีรักษาที่ทันสมัย

รังสีรักษาแบบภายนอก ส่วนใหญ่จะกระทำอาทิตย์ละ 5 วัน โดยจะใช้เวลาในการรักษาประมาณ 3-5 สัปดาห์   โดยในครั้งแรกนั้นจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า simulator  เพื่อทำการกำหนดขอบเขต เพื่อให้เครื่องรังสีรักษาทำการรักษาในตำแหน่งที่ถูกต้องแม่นยำในแต่ละครั้ง

การฉายรังสีเพื่อการรักษากินเวลา 2-3 นาทีเท่านั้น  และจะไม่รู้สึกเจ็บในขณะที่ทำการฉายแสง   อีกทั้งไม่มีรังสีตกค้างในตัวผู้ป่วย

วิธีการทำ Radiotherapy

1. Radiation Chest wall

2. Radiation whole breast

3. Radiation Regional Node ได้แก่ Axilar Node, Supraclavicular Node, Internal Mamilary Node

ผลข้างเคียงหลังจากทำรังสีรักษา

1. ผลข้างเคียงระยะสั้น  ในบางคนจะมีผลแทรกซ้อนภายหลังฉายแสง ได้แก่ บวม แดง ที่ผิวหนัง หรือมีการบวมที่หน้าอกบริเวณที่มีการฉายแสง อาการเหล่านี้จะหายไปภายหลังการรักษา  แต่ความรู้สึกอ่อนเพลียยังคงมีอยู่เป็นเดือนหลังจากการฉายแสง

2. ผลข้างเคียงระยะยาว  จะพบว่าผิวหนังบริเวณหน้าอก และเต้านมในส่วนที่ไม่ได้ตัดออกจะแข็งกว่า และเหี่ยวลงกว่าเดิม  และบางคนจะรู้สึกเจ็บ หรือบางที่จะมีเม็ดแดงๆที่ผิวหนัง ซึ่งผลข้างเคียงดังกล่าว จะลดลงได้ก็ต่อเมื่อเทคนิคของรังสีรักษากระทำได้อย่างถูกต้องเพื่อลดผลแทรกซ้อนดังกล่าว

เคมีบำบัด (Chemo Therapy) 

การให้เคมีบำบัดนั้น ก็เพื่อที่ไปทำลายเซลมะเร็งที่ไม่ได้อยู่เฉพาะที่   แต่ได้ไปตามกระแสเลือดหรือระบบทางเดินน้ำเหลือง ไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย   โดยการให้เคมีบำบัดนั้นมี 3 วัตถุประสงค์ ดังนี้

1. ให้ก่อนทำการผ่าตัด หรือเรียกว่า Neoadjuvant Therapy เื่พื่อลดขนาดของก้อนมะเร็ง และช่วยให้การรักษาด้วยการผ่าตัดหรือฉายแสงที่จะให้การรักษาตามมามีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. ให้ภายหลังการผ่าตัด หรือเรียกว่า Adjuvant Therapy เพื่อลดโอกาสของการกลับมาเป็นซ้ำภายหลังการรักษา และฆ่าเซลมะเร็งที่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ

3. ให้เพื่อรักษาในกรณีมะเร็งได้แพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆแล้ว  หรือให้รักษาในกรณีที่มีการกลับซ้ำภายหลังการรักษา หรือเรียกว่า Paliative Chemotherapy  เป้าหมายของการให้เคมีบำบัดในกลุ่มนี้ไม่ได้หวังการหายขาด แต่มีเป้าหมายเพื่อลดจำนวนของเซลมะเร็ง (Tumor load) และยืดความยืนยาวของชีวิต

สูตรยาในการให้เคมีบำบัด (Regimen)   สูตรยาเคมีบำบัดนั้น จะให้ยา 2-3 ตัวพร้อมกัน

เคมีบำบัด ที่ใช้เพื่อรักษามะเร็งเต้านมได้แก่

1. AC (Adriamicin , Cyclophosphamide)

2. TAC

3. AC- T ได้แก่ AC –Paclitaxel (Taxol) หรือ AC-Docetaxel (Taxotere)

4. CAF หรือ FAC (5-Fluorouraci ,Adrimycin , Cyclophosphamide)

5. CMF (Cyclophosphamide , Metotrexate , 5-Fluorouracil)

6. Other ได้แก่ FEC,FEC-D,CAPE

รายละเอียดของแต่ละสูตร

AC เป็นสูตรเคมีบำบัดที่นิยมใช้กันมาก  โดยเฉพาะกลุ่มที่มะเร็งยังไม่แพร่ไปยังต่อมน้ำเหลืองโดย

A = Adriamcin นั้นสามารถที่จะยับยั้งการสร้าง DNA ในเซล และยับยั้ง enzyme ที่ใช้ในซ่อม DNA

C = Cytoxan  ยับยั้งการ Replicate ของเซล ซึ่งเมื่อยาทั้ง 2 ใช้ร่วมกัน จะทำให้จัดการเซลมะเร็งได้

TAC เป็นสูตรที่เพิ่ม T   ซึ่งก็คือ Paclitaxel (Taxol) or docetaxel (Taxotere) เข้าไปในสูตรเดิม AC  เพื่อไปรักษากลุ่มที่มีการแพร่กระจายของเซลมะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลืองแล้ว  หรือในรายทีมีการกลับมาเป็นซ้ำภายหลังการรักษา โดย TAC จะให้หลังจากเสร็จสิ้นการรักษาด้วย AC

Taxol or Taxotere ทำให้การแบ่งตัวช้าลงหรือหยุดแบ่งตัว หรือไปยับยั้งเอนไซม์ที่จำเป็นต้องใช้ในการเจริญเติบโต

AT เป็นสูตรยาสำหรับมะเร็งเต้านมที่มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง  ตัวย่อของ AT นั้นได้กล่าวมาแล้ว จึงไม่ขอกล่าวซ้ำ โดยผลแทรกซ้อนจากการใช้ยาได้แก่  คลื่นไส้อาเจียน ผมร่วง และติดเชื้อง่าย

CAF หรือ FAC เป็นสูตรยาที่ใช้ได้ทั้งกลุ่มที่ยังไม่แพร่ หรือแพร่ไปยังต่อมน้ำเหลืองแล้ว

F = 5 Fluoro uracil  เป็น Pyrimidine Antagonist ซึ่งมีโมเลกุลค่อนข้างเหมือนกับโมเลกุลของเซลปกติ และสามารถที่จะยับยั้งการสังเคราะห์ DNA โดย Block Formation ของ Normal pyrimidine nucleotide  หรือไปรบกวนการสร้่าง DNA ภายหลังจากที่ไปรวมกับโมเลกุลของ DNA ที่มีการเจริญเติบโต

CMF เป็นสูตรยาที่ใช้ได้ทั้งกลุ่มที่ยังไม่แพร่ หรือแพร่ไปยังต่อมน้ำเหลืองแล้ว

M= metrotrexate   โดย M สามารถที่ป้องกันไม่ให้เซลใช้ Folic aid และ วิตามินที่เซลมีความจำเป็นต้องใช้เพื่อการเจริญเติบโต  เมื่อขาด Folic acid และ Vitamin ยังผลให้เซลมะเร็งตาย

EC เป็นยาที่ให้ในรายที่มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองแล้ว

E = Epirubicin (Ellence)  สามารถยับยั้ง enzyme ที่ใชในการ Reproduction  โดยการจู่โจมที่ DNA  ทำให้ไม่สามารถที่จะ replicate ตัวเองได้  นอกจากนี้ยังสมารถที่จะเปลี่ยนแปลง Cell membrane ได้

FEC เป็นสูตรยาที่ใช้ในมะเร็งเต้านมที่มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองแล้ว

สรุป   เคมีบำบัดที่ใช้เื่พื่อรักษามะเร็งจะยังผลต่อเซลที่มีการเจริญเติบโตหรือแบ่งตัวเร็ว  ซึ่งนอกจากจะมีผลต่อเซลมะเร็งแล้ว  ยังมีผลต่อเซลปกติของร่างกายที่มีการเจริญเติบโตหรือแบ่งตัวเร็ว ได้แก่ เซลเม็ดเลือด เซลเยื่อบุลำไส้ และเซลผม  ทำให้ผลข้างเคียงที่สำคัญจากการให้เคมีบำบัดคือ  ติดเชื้อง่ายเนื่องจากเม็ดเลือดขาวลดลง  อุจจาระร่วงเรื้อรังเนื่องจากเซลเยื่อบุลำไส้ และผมร่วง

ตารางในการให้ยาเคมีบำบัด (Course of Chemotherapy)   การให้เคมีบำบัดมีตารางในการให้ดังนี้

1. ให้ยาตามสูตรที่กำหนดไว้ ระหว่าง 1-5 วัน หลังจากนั้นจะหยุดไป 3-4 สัปดาห์ เรียกว่า 1 รอบ (Cycle)

2. จากนั้นเริ่มรอบใหม่   ซึ่งปกติจะใช้ 4-8 รอบถึงจะครบคอร์สการรักษา   เนื่องจาก 1 รอบใช้เวลาประมาณ 1 เดือน เพราะฉะนั้นการรักษาครบคอร์สกินเวลา 4-8 รอบจะใช้เวลาประมาณ 4-8 เดือน

ผลข้างเคียงจากการให้เคมีบำบัด

1. ผลต่อเม็ดเลือด  โดยเฉพาะเม็ดเลือดขาว  โดยทำให้เม็ดเลือดขาวมีปริมาณที่ลดลง และมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายขึ้น  เกร็ดเลือดลดลง จึงทำให้เลือดออกง่ายกว่าปกติ

2. มีอาการอ่อนเพลีย ซึ่งจะพบในผู้ที่รับเคมีบำบัดในทุกราย และจะมีอาการอ่อนเพลียต่อไปเป็นเดือนๆภายหลังสิ้นสุดการรักษา

3. ผมร่วง และผมบางลง  เจ็บคอ  ท้องเสีย และเจ็บตา

4. หญิงที่ยังไม่หมดประจำเดือนนั้น  การให้เคมีบำบัดจะทำให้ขาดประจำเดือนได้  และประจำเดือนกว่าจะมาต้องใช้เวลาประมาณ 6 เดือน หรือ 1 ปีภายหลังการรักษา หรือบางครั้งก็เป็นสาเหตุให้หมดประจำเดือนก่อนเวลาอันควร (Early Menopause)

การรักษาด้วยฮอร์โมน (Endocrine Therapy)

มะเร็งเต้านมบางชนิดมีตัวรับฮอร์โมนเพศหญิง ที่ชื่อ เอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน (Estrogen Receptor & Progesterone Receptor)  ซึ่งมะเร็งกลุ่มนี้จะเจริญเติบโตเร็วขึ้นเมื่อได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน  เพราะฉะนั้นการยับยั้งการจับตัวของฮอร์โมนเอสโตรเจนกับตัวรับดังกล่าว หรือการลดปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจน จึงถือเป็นการรักษา ซึ่งวิธีการนี้เรียกว่าการรักษาด้วยฮอร์โมน โดยระยะเวลาในการรักษาด้วยฮอร์โมนประมาณ 5 ปี    โดยยาที่ใช้ได้แก่

1. สำหรับกลุ่มที่ยังมีประจำเดือนอยู่ (Pre Menopause)

-ยาที่ไปแย่งจับตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen Receptor Antagonist)  ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Tamoxifen

-ยาที่ยับยั้งไม่ให้้ต่อมใต้สมองหลั่งสารที่ไปกระตุ้นการทำงานของรังไข่ (GnRH Analogue ) จึงทำให้การหลั่งเอสโตรเจนลดลง ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Zoladex ยาในกลุ่มนี้มีผู้แนะนำให้ใช้ในรายที่ต้องการจะมีบุตรภายหลังการรักษามะเร็งเต้านม  และผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่า การใช้ยากลุ่มนี้เดี่ยวๆ ไม่สามารถที่จะยับยั้งการทำงานของรังไข่ได้  จึงควรใช้ร่วมกับยากลุ่ม Tamoxifen   และผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่มักจะให้ยากลุ่มนี้ภายหลังจากเสร็จสิ้นจากการให้ยาเคมีบำบัด

2. สำหรับกลุ่มที่หมดประจำเดือนแล้ว (Menopause)

-ยาที่ไปยับยั้งเอนไซม์อาโรมาเตส ที่จะเปลี่ยนแอนโดรเจนให้เป็นเอสโตรเจน (Aromatase Inhibitor) ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Arimidex

ผลข้างเคียงของฮอร์โมนบำบัด

ผลข้างเคียงของฮอร์โมนบำบัดมีความแตกต่างกันในแต่ละคน  บางคนมีผลข้างเคียงใน 1-2 อาทิตย์แรก หลังจากนั้นกลับไม่มีผลข้างเคียง  ผลข้างเคียงของฮอร์โมนบำบัดที่พบบ่อยได้แก่

1. ผลข้างเคียงระยะสั้น ได้แก่ กลุ่มอาการเหมือนหญิงวัยทองที่หมดประจำเดือน ได้แก่ ร้อนวูบวาบ  ขาดประจำเดือน ความต้องการทางเพศลดลง  ช่องคลอดแห้ง อารมณ์เปลี่ยนแปลง  ปวดข้อ  อ่อนเพลีย เป็นต้น

2. ผลข้างเคียงเมื่อใช้ระยะยาว  โดยเฉพาะกลุ่มที่ไปยับยั้งเอนไซม์อาโรมาเตส คือปัญหาเรื่องกระดุกบาง/พรุน  ทำให้กระดูกหักง่าย ซึ่งต้องพิจารณาในเรื่อง สารอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีที่เพียงพอ

ที่มา :- Breast Cancer Surveillance System